Tag  |  ความเชื่อเรื่องพระเจ้า

แหวนและพระคุณ

ทุกครั้งที่มองดูมือตัวเอง ฉันรู้สึกถูกตอกย้ำว่าฉันทำแหวนหมั้นและแหวนแต่งงานหาย ฉันทำหลายอย่างพร้อมกันตอนจัดกระเป๋าไปเที่ยว จนป่านนี้ยังไม่รู้ว่าไปลืมไว้ที่ไหน

ฉันไม่กล้าบอกสามีเรื่องความสะเพร่าครั้งนี้ กังวลว่าจะทำให้เขาไม่สบายใจ แต่เขาตอบสนองด้วยความเมตตาและห่วงใยฉันมากยิ่งกว่าห่วงแหวน กระนั้นก็ยังมีบางเวลาที่ฉันอยากทำอะไรเพื่อให้สมกับความใจดีของเขา! ส่วนเขานั้นตรงกันข้าม เขาไม่เคยถือโทษฉันเลย

หลายต่อหลายครั้งเราจดจำความบาปของเราและรู้สึกว่าจะต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อขอการอภัยจากพระเจ้า แต่พระเจ้าตรัสว่าเรารอดโดยพระคุณ ไม่ใช่เพราะสิ่งที่เราทำ (อฟ.2:8-9) พระเจ้าทรงสัญญากับชนอิสราเอลเมื่อตรัสถึงพันธสัญญาใหม่ว่า “เราจะให้อภัยบาปชั่วของเขา และจะไม่จดจำบาปของเขาทั้งหลายอีกต่อไป” (ยรม.31:34) เรามีพระเจ้าผู้ทรงให้อภัยและไม่รื้อฟื้นสิ่งผิดที่เราทำ

เราอาจยังรู้สึกเสียใจกับอดีต แต่เราต้องวางใจในพระสัญญาและเชื่อว่าพระคุณและการอภัยของพระองค์เป็นความจริงผ่านทางความเชื่อในพระเยซูคริสต์ ข่าวนี้ควรทำให้เราขอบพระคุณและมีความมั่นใจในความเชื่อเมื่อพระเจ้าทรงให้อภัย พระองค์ไม่ทรงจดจำอีก

พระเจ้าเรียก

เช้าวันหนึ่งลูกสาวผมเอาโทรศัพท์มือถือให้ลูกชายวัย 11 เดือน เล่นแก้เบื่อ ไม่ถึงนาทีโทรศัพท์ผมดังขึ้น และผมได้ยินเสียงเขาเมื่อรับสาย เขาไปกดถูกปุ่ม “โทรด่วน” ที่เป็นเบอร์ผม และสิ่งที่เกิดขึ้นคือ “บทสนทนา” ที่ผมจะจำไปอีกนาน หลานชายผมพูดได้เพียงไม่กี่คำ แต่เขาจำเสียงผมได้และตอบ ผมจึงคุยกับเขาและบอกว่ารักเขามาก

เลือกทีหลัง

ในบางวัฒนธรรม คนที่อายุน้อยกว่าต้องให้ผู้อาวุโสเดินเข้าห้องไปก่อน แต่บางวัฒนธรรม คนสำคัญหรือคนที่มีตำแหน่งสูงสุดจะได้เดินเข้าไปก่อน แต่ไม่ว่าประเพณีของเราจะเป็นอย่างไร มีหลายครั้งที่เป็นเรื่องยากที่จะยอมให้สิทธิ์คนอื่นเลือกก่อนในเรื่องสำคัญๆ โดยเฉพาะเมื่อสิทธิ์นั้นเป็นของเราโดยชอบธรรม

ทีละระยะ

เราอาจอ่านผ่านกันดารวิถีบทที่ 33 ไปโดยไม่ได้ไตร่ตรอง เพราะดู เหมือนไม่มีอะไรนอกจากรายชื่อสถานที่ต่างๆ ที่อิสราเอลเดินผ่านจากราเมเสสไปถึงทุ่งราบโมอับ แต่ตอนนี้ต้องมีความสำคัญเพราะเป็นตอนเดียวในกันดารวิถีที่ตามด้วยถ้อยคำว่า ”โมเสสได้จด ....ตามพระบัญชาของพระเจ้า” (กันดารวิถี 33:2)

ประตูแห่งการนมัสการ

เมื่อคุณไปตามเมืองสำคัญๆ ของโลก คุณจะได้เห็นประตูที่มีชื่อเสียงเช่น ประตูบรันเดนบูร์ก (เบอร์ลิน) ประตูยัฟฟา (เยรูซาเล็ม) และประตูที่ถนนดาวนิ่ง (ลอนดอน) ไม่ว่าประตูจะถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันหรือใช้ในพิธีการ ต่างก็สื่อถึงความแตกต่างระหว่างการอยู่ด้านนอกกับการอยู่ด้านใน ประตูเหล่านั้น บ้างก็เปิดให้ทุกคนเข้าได้ บ้างก็เปิดให้เฉพาะบางคน

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไป นั่นเป็นการแสดงว่าท่านยอมรับ นโยบายการใช้คุกกี้ของเรา